สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
369
มกราคม 2553
"การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ" (HIA) ครอบคลุมการประเมินผลกระทบทั้งด้านดีและด้านเสียของนโยบาย แผนงาน โครงการทุกแง่มุม การประเมินด้านเสียมีประโยชน์ในการป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนการประเมินด้านดีก็จะมีส่วนช่วยพัฒนาสุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น อนึ่งคำว่า "สุขภาพ" นี้มีความหมายกว้างคือ เป็นภาวะสมบูรณ์ทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
368
ธันวาคม 2552
นับเป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 บัญญัติเรื่อง "การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ" (health impact assessment-HIA) ไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งรับรองสิทธิชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในการริเริ่มดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
367
พฤศจิกายน 2552
การทดลองวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มอาสาสมัครที่เป็นเด็ก เยาวชน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือผู้ที่มีความอ่อนแอหรือเสียเปรียบในสังคม (vulnerable) นั้น จะต้องได้รับการดูแลคุ้มครองหรือระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชนที่จะร่วมเป็นอาสาสมัครในการทดสอบวัคซีนชนิดนี้ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็น เพราะเด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
364
สิงหาคม 2552
กลายเป็นข่าวเด่นเบียดข่าวการเมืองจนเกือบตกขอบ สำหรับสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) ซึ่งนอกจากข้อมูลจำเป็นที่ประชาชนควรจะรับรู้ เช่น วิธีป้องกัน การติดต่อ จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตแล้ว การลงรายละเอียดชนิดเจาะลึกถึงตัวบุคคลจะมีผลกระทบอย่างไรหรือไม่ คงเป็นสิ่งที่ควรจะพิจารณากันอย่างถ้วนถี่ เพราะตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
361
พฤษภาคม 2552
"ผมคาดหวังว่า คนที่ได้รับรู้เรื่องของผมจะมองชาวเขาดีขึ้น"หนึ่งในความคาดหวังที่เป็นแรงพลังให้ กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ บากบั่นมุมานะเพียรพยายามไขว่คว้าหาโอกาสทางการศึกษา ให้ตนเองจนสำเร็จ เป็น "หมอม้ง" ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
361
พฤษภาคม 2552
หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด จะเป็นจุดจอดมลพิษแห่งใหม่ต่อจากระยองแม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่สำหรับคนในพื้นที่ ผลที่จะได้รับนั้นกระทบถึงสุขภาพของพวกเขาโดยตรง เมื่อแผนพัฒนาภาคใต้ หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ มุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรม เหล็กและปิโตรเคมีเป็นหลัก เช่นเดียวกับระยองในปัจจุบันเกือบ 30 ปีภายใต้แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยมีระยองเป็นจุดศูนย์กลาง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
360
เมษายน 2552
บทเรียนจากระยอง ถึงเซาท์เทิร์นซีบอร์ด เส้นทางการพัฒนาที่รอการมีส่วนร่วมเกือบ 30 ปี ภายใต้แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออก ทำให้จังหวัดระยองซึ่งเคยมีรายได้หลักมาจากการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ตามโครงสร้างเศรษฐกิจสามขาอย่างสมดุล ต้องกลายมาเป็นเศรษฐกิจขาเดียว เพราะการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ที่แม้จะมีตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของประชากรสูงที่สุดในประเทศ คือสูงกว่า 800,000 บาท ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
353
กันยายน 2551
ตลอดปี พ.ศ.2548 มีทารกถูกทิ้ง 700-800 คน เฉลี่ยถูกทิ้งวันละ 2 คนนี่คือข้อมูลจากโครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัดหรือ Child Watch ที่ทำการติดตามและสำรวจทารกที่ถูกทิ้งซึ่งยังไม่นับรวมกับข่าวพบซากทารกถูกทิ้งในที่ต่างๆ ปัญหาเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับสถานการณ์การท้องไม่พร้อมอย่างแยกไม่ออก แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติของปัญหาท้องไม่พร้อมอย่างหนัก ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
350
มิถุนายน 2551
แม้ตอนนี้จะยังไม่มีคำตัดสินชี้ชัดว่าแพทย์ผู้ให้บริการ "ตัดอัณฑะ" นี้มีความผิดหรือไม่ แต่สิ่งที่ทั้งวัยรุ่นชายซึ่งเป็นผู้รับบริการ รวมถึงผู้ปกครอง และแพทย์ผู้ให้บริการควรตระหนักให้มากคือ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงสิ่งที่จะตามมาด้วยการตัดอัณฑะที่กลายเป็นแฟชั่นของวัยรุ่นชายที่อยากแปลงกายเป็นหญิง แม้จะบอกว่าเป็นการยินยอมของเจ้าตัวและได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองแล้วก็ตาม ...