คุยสุขภาพ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    บทนำการปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation) รักษาผู้ป่วยโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cell) จากพี่น้องที่มีหมู่เนื้อเยื่อ HLA (Human leukocyte antigen) ตรงกัน เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่า เป็นวิธีการที่ประสบความสำเร็จในการรักษาเด็กและผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอันตรายหลายชนิด อาทิเช่น โรคมะเร็งที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสกำเริบสูง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    "The trouble with doctors is not that they do not know enough but that they do not see enough."Corrigan (1853)แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่าง Corrigan เสนอว่า "ปัญหาของแพทย์ไม่ได้อยู่ที่มีความรู้ไม่เพียงพอ แต่อยู่ที่ดูคนไข้ไม่ละเอียดพอ". หลักสูตรแพทย์ขณะนี้กำหนดหกปี ต้องผ่านการสอบอันหนักหน่วงกว่าจะผ่านไปได้แต่ละปี ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    การใช้ยามีหลักการสำคัญเพื่อที่จะมุ่งเน้น ให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย โดยการที่ผู้ป่วยแต่ละรายควรได้รับยาที่เหมาะสมกับสภาวะของตน มีข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม มีประสิทธิผลมากที่สุด มีความปลอดภัยมากที่สุด เอื้อให้เกิดการร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด และมีราคาเหมาะสมกับเศรษฐฐานะของผู้ป่วย หรือที่สามารถจดจำได้ง่ายๆ ว่า IESAC เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    การแสดงปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษหัวข้อ "หมออาชีพ หมอมืออาชีพ"วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2549 ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส อาคาร อปรคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วรพล จรูญวณิชกุล นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ : ถอดความ"ขอขอบคุณท่านคณบดีและแขกผู้มีเกียรติ ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    Caregiver guide for the last hours of lifeญาติควรดูแลอย่างไร เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากบทความตอนที่แล้วได้ยกตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายในฐานะแพทย์ผู้ดูแล แต่ทีมผู้ดูแลที่สำคัญคือญาติสนิทมิตรสหายที่มีความผูกพันกับผู้ป่วยมาอย่างยาวนาน สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายก่อนผู้ป่วยจากไปตามธรรมชาติอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและติดใจว่ายังรักษาพยาบาลไม่ถึงที่สุดหรือไม่ ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    กรณีศึกษานายแพทย์อายุ 35 ปี มีพฤติกรรมชอบดื่มสุราจนเมามายมาตั้งแต่เริ่มทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. ภาพที่ผู้คนเห็นเป็นประจำคือดื่มสุราจนเมาหลับทั้งชุดแพทย์อยู่กับยามหน้าโรงพยาบาล พอเช้าก็งัวเงียลุกไปอาบน้ำ ก่อนจะขึ้นมาตรวจผู้ป่วยบนตึกด้วยหน้าตาแดงก่ำ มีกลิ่นสุราประจำตัว ดื่มเบียร์แทนน้ำ พกเบียร์กระป๋องติดเสื้อกาวน์ประจำ ตรวจผู้ป่วยไปกระดกเบียร์ไป ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    ในชายไทยอายุ 54 ปีประวัติและการตรวจร่างกายชายไทย อายุ 54 ปี มาห้องฉุกเฉินเนื่องจากสังเกตว่า คอและหน้าบวมมากขึ้นมาประมาณ 20 วัน จากนั้นลามมาที่แขนทั้ง 2 ข้างร่วมกับมีเสียงแหบ ไอเสมหะสีขาวขุ่น แต่ไม่มีไข้ ไม่มีอาการคัดจมูก เหนื่อยง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะเวลานอนราบจะเป็น มากขึ้นต้องลุกมานั่งจึงเหนื่อยน้อยลง ไม่มีขาบวม เคยไปพบแพทย์มาก่อนด้วยอาการไอ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบได้ยาแก้ไอมากิน ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    "กองทุนเยียวยาผู้ให้บริการ" ขวัญกำลังใจในการทำหน้าที่เพื่อเพื่อนมนุษย์►พนักงานขับรถยนต์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ขับรถเพื่อส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งมี สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปรับการรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ขณะขับรถเพื่อส่งต่อผู้ป่วย ได้ถูกรถกระบะเฉี่ยวชนทำให้รถเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำ พนักงานขับรถได้รับ บาดเจ็บสาหัส กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 4 แตกและหัก ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์สองฉบับแรกของปี ได้นำเสนอประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยชายไทย คนหนึ่งซึ่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งด้วยอาการสำคัญ คือ ปวดท้องมากมาเป็นเวลา 1 วัน ในที่สุดอายุรแพทย์ก็วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีอาการพิษตะกั่วเฉียบพลันและได้ให้ยาขับตะกั่วจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและกลับบ้านได้หลังเข้ารับการรักษาตัว 12 วัน. บทความตอนนี้ จะได้กล่าวถึงบทบาทของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ...
  • วารสารคลินิก 267 มีนาคม 2550
    การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาวาระ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จนถึง 31 มกราคม 2552 ก็ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525. คณะกรรมการแพทยสภาจะประกอบไปด้วยกรรมการโดยตำแหน่งครึ่งหนึ่ง และกรรมการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง ในวาระที่ผ่านมามีกรรมการโดยตำแหน่ง 19 คน แต่วาระนี้มี 23 คน (มีคณบดีเพิ่มขึ้น 4 ตำแหน่ง) จึงทำให้วาระนี้มีกรรมการมาจากการเลือกตั้ง 23 คน ทำให้กรรมการแพทยสภาทั้งหมดมี 46 คน ...