บทความมาใหม่

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 69 มกราคม 2528
    “ประชาชนทั่วไปสามารถจะเรียนรู้การเป็นหมอรักษาตนเองและญาติมิตรได้ โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่พบอยู่บ่อย ๆ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70-80 ) จะรักษาได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่พิเศษพิสดารอะไร เรื่อง “มาเป็นหมอกันเถิด” มีเป็นประจำเพื่อชี้แจงวิธีที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองจนดูแลรักษาตนเองและผู้อื่นได้” ความดันเลือดสูง จะรู้ได้แน่นอนโดยการวัดความดันเท่านั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 69 มกราคม 2528
    เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ชื่อว่า มาแลสซิเซีย เฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur) เป็นเชื้อราที่ชอบไขมันบนผิวหนังคน ไม่พบในสัตว์ คนที่เป็นมักไม่ค่อยมีอาการอะไร บางคนมีอาการคันยุบยิบบ้างเวลาเหงื่อออก แต่ก็พอทนได้ไม่รำคาญนัก เจ้าตัวเลยมักทิ้งไว้จนลุกลามเป็นดวงด่างๆ ขาวๆ ทั่วไป ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 69 มกราคม 2528
    คำถามที่ผู้เขียนถูกถามบ่อยที่สุดจากท่านที่เริ่มวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพก็คือ“วิ่งแค่ไหนจึงจะพอดี ?”ผู้ถามยังอยากทราบว่า หากต้องการวิ่งเพื่อสุขภาพควรจะวิ่งสัปดาห์ละกี่ครั้ง ? ระยะทางเท่าไร ?วิ่งด้วยความเร็วเท่าไร ?คำตอบก็คือ หากท่านประสงค์จะรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ก็ควรจะออกกำลังกายอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง ๆ ละ ประมาณ 30 นาที ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 69 มกราคม 2528
    คำว่า เมกาวิตามิน มาจากภาษาฝรั่ง ซึ่งแปลเป็นไทยคงได้ว่า วิตามินขนาดมหึมา (เมกาแปลว่า ล้าน อย่างกระแสไฟ 1 เมกาวัตต์) เรื่องของเมกาวิตามิน เป็นเรื่องที่ฮิตในสหรัฐอเมริกาชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยปกติอะไรที่ฮิตในอเมริกา จะระบาดมาถึงเมืองไทยในระยะเวลาอันสั้น นี่ก็เริ่มกระเส็นกระสายให้เห็นได้บ้าง ดังหนังสือบางเล่มและคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับ แนะนำให้ผู้อ่านกินวิตามินขนาด “มหึมา” ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่ 5 ธันวาคม ศกนี้ นิตยสาร “หมอชาวบ้าน” ขอถวายพระพรให้ทรงพระเกษมสำราญและมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พร้อมทั้งได้จัดฉบับนี้เป็นพิเศษที่ว่าด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสาธารณสุขมูลฐาน ดังที่ปรากฏแก่ท่านแล้ว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแกนหลักของชาติการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นแกนหลักของการสาธารณสุขของประเทศข้อความสองบรรทัดแรกไม่จำเป็นต้องอธิบายแต่บรรทัดที่เหลืออาจต้องอธิบายขยายความ ดังนี้1.การแพทย์ การแพทย์ไม่ว่าของระบบใด ๆ เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะเยียวยารักษาโรค เนื่องจากความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษยชาติ2.การสาธารณสุข ขณะที่การแพทย์เน้นที่การตรวจรักษา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในสถานบริการสาธารณสุข จะมีการใช้ภาษาที่เข้าใจในหมู่หมอด้วยกันเอง หากได้ทำความรู้จัก “ภาษาหมอ” ก็จะทำให้เราสื่อสารกับหมอได้ดียิ่งขึ้น คอลัมน์นี้จึงขอแนะนำ “ภาษาหมอ” เดือนละคำสองคำอี.อาร์. เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษจากคำว่า ER ซึ่งย่อมาจากคำว่า Emergency room แปลว่า ห้องปัจจุบัน พยาบาลบางแห่งเรียกว่า ห้องฉุกเฉิน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    ฟัก เป็นอาหาร (ผัก) อีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาต้มทำแกงจืด เป็นอาหารที่ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของฟักอยู่ที่ประเทศจีน เป็นพืชที่ชาวจีนรู้จักนำมาเป็นอาหารและยาสมุนไพรมานาน ดังมีบันทึกไว้ในตำราเภสัชเล่มแรกของจีน “เสินหนงเปิ่นฉ่าวจิง” (Shen nong ben cao jing) ตั้งแต่โบราณมาฟักถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับลดความอ้วนที่ดีชนิดหนึ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    ผมเป็นผู้หนึ่งที่มีเลือดเนื้อสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษที่เป็นหมอแผนโบราณ เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ช่วยเหลือผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นโรคดีซ่าน ซึ่งอาการค่อนข้างจะรุนแรงมาก เที่ยวได้รักษาเกือบจะทุกแห่งแล้ว หมดเงินทองไปเป็นจำนวนมากก็ไม่หาย เขาเล่าอาการให้ฟังว่า ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลียไม่มีแรงทำงาน แม้กระทั่งเดิน ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง ปากขม กินอาหารก็ขมเมื่อได้ฟังอาการต่าง ๆ แล้ว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 68 ธันวาคม 2527
    นอกจากความไม่สมดุลระหว่าง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์กับจำนวนประชาชนแล้ว ภาวะสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันยังทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถใช้บริการของสถานพยาบาลได้ทุกครั้ง การดูแลตนเอง หรือดูแลซึ่งกันและกันเมื่อมีความผิดปกติบางอย่าง จึงมีความสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือบรรเทาภาวะวิกฤตก่อนที่จะไปสถานพยาบาลได้ ...