บทความมาใหม่

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 335 มีนาคม 2550
    โยคะบำบัดบทที่ 3 การปรับสภาพของกลไก กาย-จิตมุทรา และ พันธะมุทราและพันธะคือเทคนิคพิเศษที่มีอยู่ในหฐโยคะ เทคนิคต่างๆ แทบทั้งหมดของมุทรา-พันธะประกอบด้วยการกดล็อกเส้นประสาท-กล้ามเนื้อเฉพาะจุด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความกดดันภายในร่างกายอย่างมาก (ดูภาพประกอบ) การฝึก มุทรา-พันธะมีผลโดยตรงต่อความแข็งแรงของอวัยวะภายใน การหลั่งของต่อมต่างๆ รวมถึงต่อมไร้ท่อ และปมประสาทสำคัญๆ บางจุด ในตำราดั้งเดิม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 335 มีนาคม 2550
    ไปตรวจโรคผิวหนัง...ต้องทำอย่างไร?(ตอนที่ 1) การซักประวัติโรคผิวหนังปัญหาโรคผิวหนัง เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก อีกทั้งผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญทางสังคม จึงทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาผิวหนังเพียงเล็กน้อยอาจเกิดความกังวลใจมากกว่าเป็นโรคของระบบอื่นที่ร้ายแรงกว่าโรคผิวหนังเกือบทั้งหมดไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่โรคผิวหนังหลายอย่างก็อาจก่อให้เกิดความไม่สบาย อับอาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 335 มีนาคม 2550
    ดัดตนแก้ปวดเข่าแบบประยุกต์มีสุภาพสตรีมาหาผมที่คลินิกด้วยอาการเดินไม่ถนัด เนื่องจากมีอาการปวดเข่า พอถามไถ่ถึงอาการปวดที่เกิดขึ้น เธอจึงบอกว่า "นอกจากปวดแล้วยังไม่มีแรงอีกด้วย" ผมจึงแนะนำให้เธอบริหารหัวเข่าด้วยท่าดัดตนแก้ปวดเข่าแบบประยุกต์ที่ผมเขียนมานี้ทุกวัน อาการก็จะทุเลาลงไปได้ แต่ท่าดัดตนแบบนี้จะต้องมีผู้ช่วยด้วย 1 คนการใช้ท่าดัดตนแก้ปวดเข่าแบบประยุกต์นี้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    การเสพติดและชีวิต ในสังคมไทยเมื่อกว่า 20 ปีก่อน เราเคยรณรงค์ให้เอากาเฟอีนออกจากยาแก้ปวดเรื่องมีอยู่ว่าบริษัทยาได้ผลิตยาแก้ปวดที่มีสูตรผสมเป็นเอพีซี ซึ่งประกอบแอสไพริน (Aspirin) ฟีนาซีทิน (Phenacetin) + กาเฟอีน (Caffeine) ในชื่อการค้าต่างๆ ปรากฏว่าชาวไร่ชาวนาติดยานี้กันเป็นอันมาก บางคนกินถึง 4-5 ซองในวันหนึ่งๆ หลายคนมีอาการตกเลือดจากกระเพาะอาหาร ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    เคล็ดลับป้องกันโรคติดเกมปัจจุบันดูเหมือนว่า" โรคติดเกม "จะกลายเป็นโรคระบาดร้ายแรงในหมู่เยาวชนชนิดหนึ่ง ซึ่งกระทบต่อครอบครัวจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ คนในเมือง และครอบครัวที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ หรือเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)เด็กติดเกมมีตั้งแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา แม้แต่ในหมู่นักศึกษาแพทย์และวิศวะที่จัดว่าเป็นชนชั้นหัวกะทิ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    เคล็ดลับการดูแลรักษาเล็บทางการแพทย์นั้นเล็บอาจเปรียบ เหมือนหน้าต่างที่บอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในเล็บเป็นส่วนหนึ่งของผิวหนังซึ่งมีส่วนเสริมบุคลิกของผู้เป็นเจ้าของ ก่อนคุยกันถึงเคล็ดลับการดูแลรักษาเล็บ มาพูดถึงเรื่องของเล็บกันก่อน เกร็ดเกี่ยวกับเรื่องของเล็บโดยเฉลี่ยแล้วเล็บมืองอกยาววันละ 0.1 มิลลิเมตร (มม.) นั่นคือเดือนละ3 มม. หากเล็บมือหลุด จะต้องใช้เวลานานถึง6 เดือน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    มารู้จักโรคติดต่อของเพศสัมพันธ์ความหมายของโรคติดต่อของเพศสัมพันธ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคต่างๆ ที่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง โดยการร่วมเพศ บางโรคอาจติดต่อกันโดยการสัมผัส หรือถ่ายทอดสู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน แผลริมอ่อน เริมอวัยวะเพศ เป็นต้น อาจแบ่งตามลักษณะอาการได้ดังนี้oแผล ได้แก่ ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เริมอวัยวะเพศoฝี ได้แก่ กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    มะเร็งตับมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เมื่อไปพบแพทย์ ก็มักจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะท้ายและเสียชีวิตภายใน 6-12 เดือน ความจริงโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่⇒ ชื่อภาษาไทย มะเร็งตับ มะเร็งเซลล์ตับ มะเร็งท่อน้ำดี⇒ ชื่อภาษาอังกฤษ Cancer of liver, ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    ยาสำคัญกว่าที่คิด (2)ฉบับที่แล้วเขียนถึงเรื่องความยุ่งยากของการจัดยาให้ถูกขนาด ถูกเวลา และถูกเทคนิค สำหรับคนไข้ผู้ใหญ่ที่กินยาได้ไปแล้วยังมีกลุ่มคนไข้อีกกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหายุ่งยากเพิ่มขึ้น ได้แก่ คนไข้เด็ก คนไข้ที่มีปัญหาด้านการกลืนหรือกินไม่ได้เภสัชกรจะจัดเตรียมยาสำหรับคนไข้เฉพาะราย (extemporaneus preparation) เพื่อให้คนไข้สามารถได้ยาด้วยวิธีการที่เหมาะสมยกตัวอย่างเช่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 334 กุมภาพันธ์ 2550
    ตัวอย่างผู้ป่วยรายที่ 46 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 42 ปี ครึ่งนั่งครึ่งนอนอยู่บน เตียงเข็นในห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉินตั้งแต่ตอนสายๆ ด้วยอาการเจ็บแน่นในอกมาหลายวัน และเพิ่งออกจากโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งเมื่อ 2-3 วันก่อน หลังจากไปพักรักษาตัวอยู่ที่นั่นเป็นเวลา3 วันแพทย์ประจำบ้านที่ห้องฉุกเฉินได้ตรวจผู้ป่วย แล้วไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยเจ็บแน่นอกจากอะไร ...