de Jong YP, Uil SM, Grotjohan HP, et al. Oral or IV prednisolone in the treatment of COPD exacerbations : a randomized, controlled, double-blind study. Chest 2007; 132:1741-7.
ผู้ป่วย COPD ทีมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรง ต้องเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล การให้ยา systematic steroid ช่วยลดความทรมานของผู้ป่วยได้รวดเร็ว สามารถกลับบ้านเร็วและลดอัตราการเป็นซ้ำ แม้ว่าข้อแนะนำในการรักษาให้ใช้ยา prednisolone แบบกิน แต่ยังมีการรักษาด้วยยาฉีดทาง IV อยู่ ซึ่งมีความ ยุ่งยากในการให้ยาและสิ้นเปลืองมากกว่า. การวิจัยนี้ทำในเนเธอร์แลนด์ นักวิจัยต้องการตรวจสอบว่าการรักษาอาการรุนแรงนี้ด้วย. ยากินนั้นด้อยกว่ายาฉีดหรือไม่ ผู้ป่วยจำนวน 210 คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ที่เข้ารักษาด้วยอาการหอบเหนื่อยจาก COPD (หมาย ถึง มีประวัติหายใจลำบากมาก และมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ ไอถี่ๆและรุนแรง มีเสมหะมากหรือสีเหลือง หอบมีเสียงวี๊ดในอก) และเป็นนานกว่า 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในการศึกษาคือ คนที่มีอาการรุนแรงมากๆ หรือมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น หอบหืด ภาพรังสีปอดไม่เข้ากับ COPD และมีภูมิแพ้ต่อ prednisolone สำหรับการ รักษาที่ให้คือ prednisolone แบบกินหรือ แบบฉีดทางหลอดเลือด 60 มก./วัน เป็นเวลา 5 วัน ตามด้วยการให้ยา prednisolone กินอีก 6 วัน แบบค่อยๆ ลดขนาดยาจนเลิก. การประเมินผลใช้ตัวชี้วัด คือ อัตราการรักษาล้มเหลว (ตาย, เข้า ICU, อีก readmission, ต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้น) โดยดูผล 2 ช่วงคือ ช่วงแรก (ใน 2 สัปดาห์แรก) และช่วงหลัง 2 สัปดาห์-3 เดือน.
ผลการศึกษา การแบ่งผู้ป่วยแบบสุ่ม กลุ่มยากินมี 103 คน กลุ่มยาฉีด 107 คน ผลการรักษาในระยะ 2 สัปดาห์แรก ในกลุ่มยาฉีดและยากินมีอัตราล้มเหลวร้อยละ 17.8 และร้อยละ 18.4 ตามลำดับ และช่วงหลัง (2 สัปดาห์-90 วัน) อัตราล้มเหลวไม่ต่างเช่นกัน คือ กลุ่มยาฉีดร้อยละ 54.0 กลุ่มยากินร้อยละ 47.0 นอกจากนี้ระยะเวลานอนในโรงพยาบาลเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกัน คือ 11.9 vs. 11.2 วัน ตามลำดับ.
สรุปผล การให้ยากินรักษาอาการรุนแรงของ COPD ให้ผลรักษาไม่แตกต่างจากยาฉีดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และน่าจะเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมกว่า.
การศึกษานี้ยังไม่สามารถบอกขนาดยาที่เหมาะสมในการรักษา COPD ที่มีอาการรุนแรง แม้ว่าผู้วิจัยจะไม่รวมผู้ป่วยที่เคยได้รับยาฉีดสตีรอยด์ให้อยู่ ในการศึกษา แต่ไม่ได้คัดผู้ป่วยที่เคยได้ยากิน prednisolone ใน 30 วันก่อนการทดลองออกไป (ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มได้ยากินใน 30 วันที่ผ่านมา) ดังนั้นจึงไม่อาจตัด carryover effect ของยาออกไปได้ นอกจากนี้การใช้ยาฉีดยังอาจมีความจำเป็นในผู้ป่วยบางราย เช่นผู้ป่วยที่การดูดซึมยาไม่ดี.
วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 8,245 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้