ถาม : ขอทราบแนวทางปฏิบัติสำหรับ neonatal juandice ในปัจจุบันเนื่องจากมีเด็กตัวเหลืองจำนวนมากแต่เครื่อง photo theraphy มีไม่เพียงพอ (รพช.).
กนกกาญจน์ แผ่ผล
ตอบ : เกณฑ์การถ่ายเปลี่ยนเลือด
เกณฑ์การถ่ายเปลี่ยนเลือดให้จุดค่า MB ตามอายุ (ชั่วโมง) ของทารกเมื่อเจาะเลือดบนกราฟที่อยู่ในภาพที่ 3 แล้วพิจารณาการรักษา.
ภายหลังถ่ายเปลี่ยนเลือดให้ส่องไฟต่อ เกณฑ์การหยุดส่องไฟ และการให้กลับบ้าน ใช้แนวทางเดียวกับการให้การรักษาด้วยการส่องไฟ.
การเพิ่มประสิทธิภาพของการส่องไฟ
การส่องไฟ (phototherapy) ที่ให้ประสิทธิผลดีที่สุด ต้องปฏิบัติดังนี้4-8
1. ใช้หลอดไฟ special blue (หลอดไฟ Toshiba Deep Blue (FL18W/T8/DB)) 6 หลอดซึ่งสามารถ ช่วยลดบิลิรูบินได้เร็วกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์สีขาว.
2. หลอดไฟต้องใช้งานได้ทุกหลอด.
3. จัดให้ทารกอยู่ใกล้โคมไฟมากที่สุด (20-30 ซม.) โดยการเลื่อนโคมให้ต่ำหรือยกที่นอนของทารกให้สูง.
4. ให้ทารกอยู่กลางโคม.
5. กั้นขอบไฟด้วยผ้าฟ้าหรืออลูมินัมฟอยล์เพื่อลดการกระจายของแสง การกั้นผ้าให้ขอบล่างของผ้าอยู่ต่ำจากขอบโคม 20 ซม. ช่วยให้อุณหภูมิรอบกายทารกเพิ่มน้อย.
6. เปลี่ยนหลอดไฟทุก 2,400 ชม.
7. ต้องมีแผ่นพลาสติก (ห้ามใช้กระจก) กั้นโคมไฟ พลาสติกสามารถกรองแสงอันตราไวโอเลต และป้องกันหลอดไฟตกใส่ทารกหากหลอดไฟแตก แผ่นพลาสติกต้องใส ไม่มีเขม่า ฝุ่น แมลง รอยขีดข่วน หรือแตก.
การส่องไฟต่ออุณหภูมิกาย
การส่องไฟอาจทำให้อุณหภูมิกายทารกต่ำ สูง หรือปกติขึ้นกับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย อุณหภูมิตู้อบ น้ำหนักของทารก การควบคุมลมที่พัดผ่านทารก แนวทางการแก้ปัญหาอุณหภูมิกายทารกผิดปกติ ให้ปฏิบัติตามลำดับจากลำดับแรกสู่ลำดับท้าย การปฏิบัติถึงข้อใดแล้วอุณหภูมิกายทารกปกติให้สิ้นสุดการปฏิบัติที่ลำดับนั้น.4
อุณหภูมิกายสูง
¾ ถ้าทารกอยู่ในตู้อบ ปรับเป็น air servo controlled mode และลดอุณหภูมิตู้อบลงครั้งละ 0.2-0.3๐ซ. ทุกครึ่งชั่วโมงจนกว่าอุณหภูมิกายปกติ.
¾ ถ้าทารกอยู่ใน crib ใช้แผ่นพลาสติกกั้นระหว่างทารกและโคมไฟ.
¾ ปรับอุณหภูมิห้อง 26๐ซ.
¾ ตั้งเครื่องส่องไฟไว้ในตำแหน่งที่มีลมธรรมชาติ หรือลมจากพัดลม เครื่องปรับอากาศพัดผ่าน.
¾ ใช้พัดลมเป่าไปที่โคม.
¾ เลื่อนโคมให้ห่างตู้อบเพิ่มครั้งละ 10 ซม.
¾ ไม่กั้นผ้า.
¾ หากการเปลี่ยน mode การตั้งตู้อบ และการใช้มาตรการดังกล่าว ไม่ได้ผลให้นำทารกออกจากตู้อบ แล้วให้นอนใน crib และป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยการพัดพาโดยใช้ฉากกั้น.
อุณหภูมิกายต่ำ
¾ ให้ทารกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีลมพัดผ่าน.
¾ ให้ทารกอยู่ใกล้โคมที่สุด.
¾ กั้นผ้าให้ยาวถึงพื้นทั้ง 4 ด้าน.
¾ ให้ทารกนอนบนถุงธัญพืช.
¾ ย้ายทารกเข้าอยู่ในตู้อบ.
เอกสารอ้างอิง
1. American Academy of Pediatrics, Subcommittee on Hyperbilirubinemia. Management of Hyperbilirubinemia in the Newborn Infant 35 or More Weeks of Gestation. Pediatrics 2004; 114:297-316.
2. Jirapaet K. Thai healthy newborns have a higher risk. J Med Assoc Thail 2005;88(9):1314-18.
3. Bhutani VK, Johnson L, Sivieri EM. Predictive ability of a predischarge hour-specific serum bilirubin for subsequentsignificant hyper-bilirubinemia in healthy term and near-term newborns. Pediatrics 1999; 103:6-14.
4. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การใช้อุปกรณ์การแพทย์ควบคุมอุณหภูมิกายทารก. ใน : สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. บรรณาธิการ. Preventive measures in neonatal care. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิคจำกัด; 2546.p.163-172.
5. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, วีณา จีระแพทย์. การวัดพลังงานแสงและผลต่ออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมของเครื่อง ส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช. สารศิริราช 2540; 49:323-9.
6. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, วีณา จีระแพทย์. ประสิทธิภาพของเครื่องส่องไฟ-ศิริราช ในการลดบิลิรูบินในพลาสมา. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2540; 36:284-92.
7. นภัทร สิทธาโนมัย, เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. ผลของการกั้นขอบโคมเครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองด้วยผ้าสีขาว ผ้าสีฟ้า และอะลูมินั่มฟอยล์ต่อพลังแสง. วารสารกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. รอตีพิมพ์.
8. วิไลศรี ลิ้มพิมพ์วงศ์, วิไล เลิศธรรมเทวี, อาภา ศรีไพบูลย์. ผลของการใช้ผ้ากั้นเครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลือง ต่อพลังงานแสงและอุณหภูมิ. หนังสือการประชุมวิชาการประจำปี 2539 สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย, 52.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ พ.บ., ศาสตราจารย์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 20,568 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้