Q : อยากทราบแนวทางการพิจารณาว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะเริ่มกินอาหารได้เมื่อไร
กิตติศักดิ์ วงศ์อมร
A : โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด การจะให้ผู้ป่วยกินได้จะดูสองปัจจัยหลัก คือ
- ดูว่าผ่าตัดอะไรไป เข้า GI tract หรือไม่.
- ดูว่า bowel function กลับมาทำงานหรือยัง.
ถ้าเป็นการผ่าตัดที่ไม่ได้เข้า GI tract เช่น Hepatectomy, groin hernia, cholecystectomy, aneurysmorrhaphy เมื่อ bowel function return ก็ให้กินได้ แต่ถ้าเป็นกรณีเข้า GI tract ต้องรอตามระยะเวลาที่กำหนด (ถึงแม้ bowel function กลับ มาก่อนก็กินไม่ได้) เพื่อให้ GI tract wound นั้น แข็งแรงพอที่จะให้ content ผ่านได้อย่างปลอดภัย ซึ่งแบ่งดังนี้ small bowel รอ 2-3 วัน, stomachและ colon รอ 5-7 วัน, esophagus รอ 7 วัน หรืออาจต้องพิสูจน์ว่าไม่ leak ด้วย contrast study ก่อน.
การประเมิน bowel function หลักการคือ เมื่อผ่าตัดเข้าช่องท้อง GI function จะหยุด และกลับมาทำงานตามลำดับโดย colon จะกลับมาทำงานหลังสุด ดังนั้นเมื่อ colon กลับมาทำงานแปลว่าส่วนอื่นควรกลับมาทำงานปกติแล้ว
Stomach ดู NG content ถ้ามากกว่า 400 มล./วัน ถือว่ายังมี delayed gastric time
ถ้า content < 400 มล./วัน ให้ off NG tube ได้.
Small bowel ดูจากเสียง bowel sound.
Colon ดูจากการผายลม ถ้าผายลมแล้ว เริ่มให้รับประทานได้.
บางภาวะอาจเริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานช้ากว่าธรรมดา เช่น ผู้ป่วย UGI bleeding จาก peptic ulcer หรือ esophageal varices ที่เลือดหยุดแล้วให้รอ 1-2 วัน หรือในรายที่เป็น partial gut obstruction จาก adhesion ที่เริ่มดีขึ้น ผายลมได้ ไม่ปวดท้อง ให้เริ่ม step diet ช้ากว่าปกติ.
วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., น.บ. สาขาวิชาจักษุวิทยา, คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ่าน 11,512 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้