คำถาม ขอทราบเกี่ยวกับยาที่สามารถป้องกันไข้รูมาติกได้ผล.
สมาชิก
คำตอบ เมื่อเป็นไข้รูมาติกแล้วจำเป็นต้องให้ยาป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ (secondary prophylaxis) เพื่อไม่ให้กลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรูมาติกถาวร หรือไม่ให้โรคลิ้นหัวใจที่เป็นอยู่แล้วทรุดลง สามารถเลือกใช้ยาป้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังแสดงในตารางที่ 1 การให้ยาฉีดจะมีประสิทธิภาพดีกว่ายากิน ระยะเวลาที่ต้องให้ยาป้องกันแสดงในตารางที่ 2.
ตารางที่ 1. ยาป้องกันไข้รูมาติก.
ตารางที่ 2. ระยะเวลาในการให้ยาป้องกันไข้รูมาติก.
เอกสารอ้างอิง
1. สุเทพ วาณิชย์กุล. ไข้รูมาติก : ความก้าวหน้าในปัจจุบัน. ใน : สุพร ตรีพงษ์กรุณา, นงนุช สิระชัยนันท์, สามารถ ภคกษมา, ประชา นันท์นฤมิต, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2549:71-86.
2. WHO expert consultation on rheumatic fever and rheumatic heart disease. Rheumatic fever and rheumatic heart disease : report of a WHO expert consultation. Geneva : WHO, 2004:1-122.
สุเทพ วาณิชย์กุล พ.บ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
การใช้ iso-tretinoin ทาเพื่อลดรอยตีนกา
ถาม การใช้ iso-tretinoin ทาเพื่อลด photo aging รอบดวงตา (รอยตีนกา) จะได้ผลเท่ากับการใช้ tretinoic acid หรือไม่ เห็นในวารสารกล่าวถึงแต่ tretinoic acid.
สมศักดิ์ ธรรมบุตร
ตอบ iso-tretinoin เป็นอนุพันธ์ของ tretinoic acid มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง collagenase ซึ่งจะย่อยสลายคอลลาเจนในชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดริ้วรอย.1 นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน type 1 และ type 7 ในชั้นหนังแท้ ทำให้ริ้วรอยลดลง.2 มีการศึกษาพบว่า iso-tretinoin สามารถลด fine และ coarse wrinkle ได้ผลดี โดยมีผลระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าที่มีรายงานใน tretinoic acid.3
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง tretinoin และ iso-tretinoin โดยตรงในการลดริ้วรอยบนใบหน้า. อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้รอบดวงตาควรระวังเรื่องการระคายเคือง หรือผิวหนังลอกแดง เพราะบริเวณนี้เป็นบริเวณที่บอบบางกว่าส่วนอื่น.4
เอกสารอ้างอิง
1. Fisher GJ, Wang ZQ, Datta SC, et al. Pathophysiology of premature aging skin induced by ultraviolet light. N Engl J Med 1997;337: 1419.
2. Woodley DT, Zelickson AS Briggaman RA, et al. Treatment of photoaged skin with topical tretinoin increases epidermal-dermal accho- ring fibrils. JAMA 1990;263:3057.
3. Maddin S, Laurharanta J, Agache P, et al. Isotretinoin improves the appearance of photoaged skin : results of a 3 6-week, multicentre,doubleblind, placebo-controlled trial. J Am Acad Dermatol 2000;42:56-63.
4. Leslie Bauman. Retinoids. In : Leslie Bauman. Cosmetic dermatology : Principles and practice. United states of America : McGraw-Hill, 2002:86-7.
ณัฏฐา รัชตะนาวิน พ.บ.
หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
การใช้ antibiotic กรณีถูกงูกัด
ถาม กรณีถูกงูกัด เมื่อไรจะให้ antibiotic (แพทย์จำนวนมากมักให้ Pen V (250) 1 X 4 กิน เพราะกลัวว่าแผลจะอักเสบหรือมีการติดเชื้อตามมา).
สมาชิก clinic
ตอบ กรณีที่ถูกงูกัด ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำการให้ antibiotic prophylaxis.1 โดยอาศัยพื้นฐานข้อมูล bacterial flora ของปากงู.2 ยาที่ให้เป็น parenteral form เช่น Benzyl penicillin with metronidozole บ้าง chloramphenicol with gentamicin ไม่พบข้อมูล Pen V. อย่างไรก็ตามพบหลักฐานการติดเชื้อของแผลงูกัด จำนวนน้อย3 และไม่สามารถยืนยันประโยชน์ของ prophylactic antibiotic ได้.4-7
ในมุมมองของความสิ้นเปลืองค่า antibiotic และการก่อปัญหาการดื้อยาในอนาคต guideline การดูแลแผลงูกัด กล่าวว่า routine antibiotic prophylaxis นั้น ไม่มีความจำเป็น ควรพิจารณาการดูแลแผลเมื่อหลังถูกกัด มีการติดเชื้อ หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการดูแลไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ปากดูดพิษจากแผล การเอาดินพอก หรือผ้าสกปรกพันแผลก่อนมาพบแพทย์ การย้อมหรือเพาะเชื้อจากหนองในแผลเป็นข้อบ่งชี้ในการให้ antibiotic รักษามากกว่าการให้ prophylaxis.
เอกสารอ้างอิง
1. Goldstein EJ, Citron DM, Gonzalez H, Russell FE, Finegold SM. Bacteriology of rattlesnake venom and implications for therapy. J Infect Dis 1979 Nov;140(5):818-21.
2. Ledbetter EO, Kutscher AE. The aerobic and anaerobic flora of rattlesnake fangs and venom : therapeutic implications. Arch Environ Health 1969 Dec;19(6):770-8.
3. Clark RF, Selden BS, Furbee B. The incidence of wound infection following crotalid envenomation. J Emerg Med 1993 Sep-Oct;11(5):583-6.
4. Kerrigan KR. Venomous snakebite in eastern Ecuador. Am J Trop Med Hyg 1991 Jan;44(1): 93-9.
5. Weed HG. Nonvenomous snakebite in Massachusetts : prophylactic antibiotics are unnecessary. Ann Emerg Med 1993 Feb;22(2):220-4.
6. Tagwireyi DD, Ball DE, Nhachi CF. Routine prophylactic antibiotic use in the management of snakebite. BMC Clin Pharmacol 2001;1:4.
7. Kularatne SA, Kumarasiri PV, Pushpakumara SK, Dissanayaka WP, Ariyasena H, Gawaram-mana IB, Senanayake N. Routine antibiotic therapy in the management of the local inflammatory swelling in venomous snakebites: results of a placebo-controlled study. Ceylon Med J 2005 Dec;50(4):151-5.
นิรันดร์ วรรณประภา พ.บ.
รองศาสตราจารย์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 5,493 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้