ทุกอย่างย่อมมีทั้งด้านดีและด้านเสีย การทำความเข้าใจทั้งสองด้านย่อมทำให้สามารถแก้ไขและป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงที ยาก็เช่นเดียวกัน หากเรารู้แต่ด้านดี โดยไม่รู้ด้านเสีย (ด้านอันตราย) ย่อมเกิดโทษมากกว่าคุณ
หากท่านผู้อ่านต้องการถามปัญหาเรื่องยาผ่านคอลัมน์นี้ โปรดวงเล็บมุมซอง “108 ปัญหายา” ทางนิตยาสารจะทยอยนำคำตอบข้อสงสัยของท่านลางตีพิมพ์ในหน้านี้
การใช้ยา
อาตมามีข้อข้องใจเรื่องเกี่ยวกับยามานานแล้ว จึงขอเรียนถามดังนี้
1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารกี่นาที (ประมาณ) ทั้งยาเม็ดและยาน้ำ
2. ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารประมาณกี่นาที ทั้งยาเม็ดและยาน้ำ
3. วิธีสังเกตยาหมดอายุที่กล่อง ขวด - ฉลาก ในรายที่เป็นภาษาอังกฤษมีวิธีการสังเกตอย่างไร
4. วิธีการสังเกตยาเม็ด ยาน้ำ แคปซูล ในรายที่ยาหมดอายุ
5. การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง (ลืมรับประทาน) เราจะเพิ่มจำนวนยาที่ลืมพร้อมกับมื้อต่อไปได้หรือไม่ จะมีโทษไหม
พระอุ่นเรือน / ลำปาง
ตอบ
ของไขข้อข้องใจของพระคุณท่านดังนี้
1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทาน ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ผู้จ่ายยาที่ดีต้องระบุเวลาให้ในฉลากด้วย การระบุเวลา 1 ชั่วโมงเป็นการเผื่อให้ ถ้าลืมกินยาแล้วนึกขึ้นได้สัก 30 นาทีก่อนอาหารแล้วกิน ก็ยังดีกวากินยาแล้วกินอาหารเลยทันที
2. ยาหลังอาหาร ควรกินพร้อมหรือหลังอาหารทันที ขอให้ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติว่าถ้าเป็นฉลากไม่ชัดแจ้งให้ถามผู้จ่ายยาทุกครั้ง
3. การสังเกตยาหมดอายุให้ดูคำว่า Exp.ที่กล่อง ขวด หรือฉลาก ปีที่หมดอายุมักระบุเป็น ค.ศ. แทนที่จะเป็น พ.ศ. บางบริษัทขึ้นต้นด้วยปี ตามด้วยเดือน วัน เช่น 84.6.30 แปลว่า พ.ศ. 2527 เดือน มิถุนายน วันที่ 30 บางบริษัทขึ้นต้นด้วยวันตามด้วยเดือนและปี เช่น 30.6.84 แปลว่า วันที่ 30 มิถุนายน 2527 บางบริษัทบอกเฉพาะเดือนและปีเท่านั้น
หากไม่มีคำว่า Exp. แต่มีคำว่า Man. หรือ Mfg. ซึ่งหมายถึงวันผลิต อ่านเหมือน
วันหมดอายุ โดยบวกอีก 5 ปี เป็นวันหมดอายุ ถ้ายังมียานั้นเหลืออยู่ควรทิ้งได้
4. ยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ที่หมดอายุก่อนกำหนด แสดงที่
สี
- สี เปลี่ยนจากเดิม ถ้าเป็นเม็ดเคลือบน้ำตาลมักมีรอยกระดำกระด่าง
- ถ้าเป็นน้ำ สีอาจซีดลงหรือเข้มขึ้น
- ยาแคปซูล ต้องเปิดแคปซูนดูเนื้อยา เช่น เตตราซัยคลีน ควรมีสีเหลืออ่อน หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำถือว่าหมดอายุ ห้ามใช้ อันตรายมาก แคปซูน เปลี่ยนสีก็คือได้ว่าหมดอายุ
กลิ่น
- ต้องรู้ว่ากลิ่นยาเดิมเป็นอย่างไร หากเปลี่ยนไปจากเดิมถือว่าหมดอายุ
รส
- ต้องรู้รสเดิมเช่นกัน เป็นต้นว่า ยารสหวาน มิกซ์เจอร์ซาลอล เอช เมธอล ถ้าเกิดรสเปรี้ยวก็เป็นยาเสียหมดอายุ
ลักษณะ
- ยาน้ำแขวนตะกอน ตะกอนจับตัวแข็ง ยาหลอดตาขันหนืดขึ้น
- ยาเม็ดหรือแคปซูล ประทุ ฯลฯ ถือว่าเป็นยาเสีย
5. ให้กินยาทันที่ที่นึกได้ในขนาดเดิม ถึงมื้อต่อไปกินยาตามปกติเสมือนไม่เคยลืม
เภสัชกร พิสิฐ วงศ์วัฒนะ
- อ่าน 3,646 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้