ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เรามักไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงประเด็นความสำคัญของญาติ ทั้งๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยต่อการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลและมีอาการหมดสติ หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความจำ ความคิดไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์และพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
กรณีเช่นนี้มักพบในผู้ป่วยหนัก กำลังจะเสียชีวิต หรือบางรายก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเสียชีวิตหรือไม่ รวมทั้งผู้ป่วยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินด้วยโรคทางสมอง ทำให้มีปัญหาในการสื่อสาร ดั้งนั้น ญาติจึงจำเป็นต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลต่าง ๆ แทนผู้ป่วย ต้องใช้ดุลพินิจอย่างสุขุมรอบคอบและต้องไม่ลืมว่าท่านมีหน้าที่ตัดสินใจรับหรือไม่รับวิธีการตรวจรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์แทนตัวผู้ป่วย
ขอยกตัวอย่างกรณีต่างๆ ให้ลองพิจารณาดูว่าท่านจะเลือกตัดสินใจเพื่อรับการรักษาอย่างไร
ให้ยาบรรเทาอาการและเคมีบำบัดเผื่อว่าจะได้ผลทำให้มะเร็งฝ่อลง ซึ่งมีความหวังน้อยมากและยังมีผลข้างเคียงสูงอีกด้วย
วิธีสุดท้ายคือทำการรักษาทุกวิถีทางเพื่อยืดชีวิตไว้
ถ้าท่านรู้ล่วงหน้าว่าต่อไปจะไม่สามารถสื่อสารกับใครได้เพราะมะเร็งกระจายไปสมองแล้ว ท่านจะสั่งลูกหลานให้ปฏิบัติต่อท่านอย่างไร
=>อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่าท่านมีอายุ ๘๐ ปีป่วยเป็นโรคชรา โดยมีอาการสมองเสื่อมเป็นเรื่องสำคัญจำลูกหลานไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ปัสสาวะราดต้องใช้ผ้าอ้อม อุจจาระไม่ได้ต้องสวนเป็นประจำ กินอาหารเองไม่ได้ต้องมีคนป้อน
อยู่มาวันหนึ่งท่านป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการ ปอดบวมแทรกซ้อน ทำให้มีไข้ หายใจเหนื่อยหอบสับสน จนต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักหรือไอซียูแพทย์ต้องใส่ท่อเข้าหลอดลมเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง
ถ้าท่านรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ท่านจะสั่งลูกหลานให้ปฏิบัติต่อท่านอย่างไร
=>กรณีสุดท้าย สมมุติว่าท่านอายุ ๖๐ ปี วันหนึ่งเกิดมีหลอดเลือดแตกอย่างรุนแรงในสมองจนหมดสติ หายใจลำบาก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจไปเรื่อยๆ แพทย์บอกว่าโอกาสรอดมีน้อยมากไม่ว่าจะผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด และหากรอดตายก็น่าจะอยู่ในสภาพเจ้าชาย (หรือเจ้าหญิง) นิทราคือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต
ถ้าท่านรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ท่านจะสั่งให้ลูกหลานปฏิบัติต่อท่านอย่างไร
จากตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการสอบถามตามมุมมองหรือทัศนคติของตัวผู้ป่วยเอง แต่ต้องการนำมาสื่อให้กับญาติผู้ป่วยที่มีสภาพเช่นนี้ใช้ประกอบการตัดสินใจแทนผู้ป่วย เพราะจากประสบการณ์การเป็นแพทย์มาเกือบ ๔๐ ปี ได้พบเห็นบทบาทของญาติผู้ป่วยที่ยังไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้องเป็นประจำ
แนะนำว่าเมื่อท่านเป็นญาติผู้ป่วยที่จำเป็นต้องตัดสินใจรับการรักษาต่างๆแทนผู้ป่วย
=>ต้องพยายามพูดคุยปรึกษากับแพทย์เพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
=>อย่าตื่นตระหนกจนขาดสติ
=>อย่าเศร้าเสียใจจนเกินเหตุ
=>อย่าหวังลมๆ แล้งๆ
=>อย่าเพิกเฉยจนปล่อยปละละเลยให้แพทย์ทำการรักษาไปตามอำเภอใจ
=>อย่าตัดสินใจตามความรู้สึกของท่านโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ดังนั้น กรณีที่ท่านจะต้องทำการตัดสินใจแทนผู้ป่วยในการรับการรักษา จะมีปัจจัยต่างๆ ที่มีกำหนดการพิจารณาได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับการตรวจรักษา (ควรพิจารณาว่ามันคุ้มกันหรือไม่และจำเป็นแค่ไหน)
ทางเลือกต่างๆ ในการตรวจรักษา (ดูว่าต้องใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพียงใด มีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นหรือไม่) ให้พิจารณาผลดีผลเสียของทางเลือกเหล่านั้น รวมทั้งมองไปถึงโอกาสการเสียชีวิตและ/หรือพิการรุนแรงว่ามีมากน้อยแค่ไหนสุดท้ายคือให้คำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยว่าจะทุกข์ทรมานเพียงใดด้วย เพราะบางครั้งการมุ่งที่จะยื้อชีวิตของผู้ป่วยไว้ให้นานที่สุดด้วยการรักษาทุกวิถีทางอาจเป็นสิ่งที่ตัวผู้ป่วยเองไม่ต้องการก็เป็นได้
- อ่าน 8,277 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้