• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สุขภาพดีในปีใหม่ ดื่มน้ำผลไม้ไทยได้วิตามินสูงค่า

สุขภาพดีในปีใหม่ ดื่มน้ำผลไม้ไทยได้วิตามินสูงค่า


เผลอประเดี๋ยวเดียว...วันคืนก็กำลังจะล่วงผ่านเลยไปอีกปีแล้ว
เดือนธันวาคมต่อเดือนมกราคมเต็มไปด้วยบรรยากาศของงานรื่นเริง การสังสรรค์ระหว่างครอบครัว ญาติสนิทและมิตรสหาย การไปอวยพรผู้หลักผู้ใหญ่ การส่งความสุขความปรารถนาดีให้แก่กันตามธรรมเนียมประเพณีในวาระขึ้นปีใหม่
หลายคนกำลังมองหาของขวัญที่จะนำไปกราบอวยพรท่านผู้ใหญ่หรือญาติมิตรเพื่อนฝูง บางคนนึกถึงสุราต่างประเทศยี่ห้อแพงๆ บุหรี่ซิการ์ชั้นเยี่ยมจากสหรัฐอเมริกา ขนมปังรสเลิศจากฝรั่งเศส หรือผลไม้ราคาแพงจากเมืองนอก เป็นต้นว่า แอปเปิ้ล ลูกท้อ สาลี่ ลูกพลับ

ความจริงนั้น ของขวัญที่ควรจะนำไปกราบอวยพรผู้หลักผู้ใหญ่ หรือนำไปเยี่ยมพรรคพวกเพื่อนฝูง ควรจะเป็นสิ่งที่ช่วยทะนุบำรุงสุขภาพพลามัยให้สมบูรณ์ เพื่อจะได้เผชิญชีวิตในปีใหม่ต่อไปด้วยความราบรื่นและเป็นสุข...ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนก็ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่มีทุกข์ไปหนึ่งอย่างแล้ว มีกำลังใจกำลังความคิดที่จะไปสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ต่อสังคม และประเทศชาติ
สำหรับคอลัมน์เรื่องน่ารู้ฉบับนี้ “หมอชาวบ้าน” อยากจะชวนเชิญคุณผู้อ่านมาลองทำน้ำผลไม้ดื่มกัน หรือจะเตรียมทำไว้ในงานเลี้ยงสังสรรค์วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ก็ได้ และที่สำคัญจะเอาไปเป็นของเยี่ยมกราบอวยพรญาติผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณค่าและดียิ่ง ทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพชาวสวนผลไม้ของคนไทยเราอีกทางหนึ่งด้วย

รัฐบาลออกข่าวว่าตั้งแต่ปลายปีนี้ไป เศรษฐกิจในประเทศของเราจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่แล้วๆมา เพราะฉะนั้นสมควรที่เราประชาชนคนไทยจะช่วยกันซื้อหาสิ่งของที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลของคนไทยด้วยกัน ไทยเราจะได้เจริญเหมือนประเทศอื่นๆเสียที ความรู้และเนื้อหาสาระทั้งหมดในคอลัมน์ “เรื่องน่ารู้” ที่เอามาถ่ายทอดสู่คุณผู้อ่าน “หมอชาวบ้าน” ได้รับความกรุณาและความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคุณสมชาย ประภาวัต นักวิจัยระดับ 7 อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน กรุงเทพฯ


วิธีทำน้ำผลไม้ง่ายๆที่ได้คุณค่าเอาไว้ดื่มเองหรือเลี้ยงญาติมิตรก็ได้ทั้งนั้น
        

                    

ในบ้านเมืองเรามีผลไม้มากมายหลายชนิด มีตลอดปีและมีตามฤดูกาลสามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ได้แทบทุกชนิด เท่าที่สังเกตมาพบว่า ทุกวันนี้คนไทยเราหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้ประเภทน้ำส้มกันมาก เช่น น้ำส้มเขียวหวาน อื่นๆ ก็มีน้ำสับปะรด น้ำมะเขือเทศ น้ำลิ้นจี่ น้ำพุทรา น้ำลำไย น้ำมะขาม เป็นต้น ซึ่งน้ำผลไม้ที่พูดมานี้เราสามารถทำดื่มเองก็ได้ ด้วยวิธีการง่ายๆ

ก่อนอื่นก็เลือกซื้อผลไม้ที่ต้องการนำมาทำน้ำผลไม้จากท้องตลาดหรือจากสวนผลไม้ของเราเอง โดยเลือกผลไม้ที่กำลังสุกพอดี เช่น ส้มเขียวหวาน เลือกเอาผลที่มีคุณภาพดี นำมาล้างให้สะอาด ทำให้สะเด็ดน้ำ แล้วผ่าเป็น 2 ซีก คั้นเอาน้ำส้มออกมา จากนั้นใช้ตะแกรงกรอง ตะแกรงที่นำมากรองควรเป็นตะแกรงสแตนเลสหรือจะใช้ผ้าขาวบางกรองเอาน้ำส้มออกมา
สำหรับผลไม้อื่นๆ เช่น สับปะรด จะต้องปอกเปลือกเอาเฉพาะเนื้อสับปะรด แล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่นหลังจากปั่นแล้วก็นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง ก็จะได้น้ำสับปะรดสดๆ
ส่วนน้ำมะเขือเทศนั้น ก็ต้องใช้มะเขือเทศที่สุกพอดี มีสีแดงจัด เลือกเอาลูกที่สมบูรณ์ไม่เน่าเสีย นำมาล้างให้สะอาด เอาขั้วออกแล้วนำไปต้มกับน้ำให้นิ่ม จากนั้นนำไปปั่นแล้วจึงกรองด้วยตะแกรงหรือผ้าขาวบาง ก็จะได้น้ำมะเขือเทศสดๆ

ส่วนน้ำผลไม้ที่มีน้ำน้อย เช่น พุทรา มะขาม ลำไยแห้ง จะต้องเติมน้ำลงไปประมาณ 3-4 เท่า แล้วนำไปต้มให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้นำผลไม้ตามต้องการ
เมื่อเรากรองได้น้ำผลไม้ออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็นำน้ำผลไม้ที่ได้มาเติมน้ำตาล เกลือ หรือกรดมะนาว ปรุงรสตามชอบ ใส่น้ำแข็ง หรือแช่ตู้เย็น ดื่มได้ทันที

สำหรับบางคนอาจจะไม่ถูกกับน้ำผลไม้สดๆ ก่อนจะนำมาดื่มก็นำไปผ่านความร้อนเสียก่อน โดยนำน้ำผลไม้ใส่ลงในภาชนะสแตนเลสแล้วนำลงต้มในน้ำเดือดซึ่งใส่อยู่ในภาชนะอีกใบหนึ่ง สังเกตดูอุณหภูมิของน้ำผลไม้ พอใกล้จะเดือดก็ยกลง (หากให้เดือดคุณค่าของผลไม้อาจเสียไปกับความร้อน) แล้วจึงนำน้ำผลไม้บรรจุใส่ขวดจนเต็มปากขวด หรือภาชนะอื่นๆที่ฆ่าเชื้อแล้ว (การฆ่าเชื้อขวดหรือภาชนะ ทำได้โดยนำขวดหรือภาชนะนั้นมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปนึ่ง โดยคว่ำปากขวดหรือภาชนะลงในหม้อนึ่งหรือลังถึงด้วยไอน้ำประมาณ 10 นาที คือนับจากน้ำเดือดแล้ว) หลังจากนั้นปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้ให้เย็นสักครู่หนึ่งจึงค่อยนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เวลาอยากจะดื่มขึ้นมาก็หยิบมาดื่มได้ทันที

เวลาเก็บควรเก็บไว้ในที่เย็น มืด และแห้ง จะช่วยรักษารสชาติที่สด สีและวิตามินได้มากกว่าเก็บไว้ที่มีอุณหภูมิสูง ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 0-5 องศาเซลเซียส อายุการเก็บรักษาและคุณค่าทางโภชนาการจะยืนยาวตลอดไปการสูญเสียทางด้านรสชาติที่สด สี และวิตามินจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากถ้าหากเก็บไว้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 21 องศาเซลเซียส


คุณค่าที่ได้จากน้ำผลไม้

น้ำผลไม้ ประกอบไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายของมนุษย์ทั้งในยามเจ็บป่วยและยามปกติ วิตามินที่สำคัญในน้ำผลไม้ ก็คือ วิตามินซี และแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้นกำเนิดของวิตามินเอและยังมีแร่ธาตุต่างๆที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ
วิตามินเอนั้นมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา ฟัน กระดูก ผม ผิว และเนื้อเยื่ออ่อน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ผิวนุ่มและเกลี้ยงเกลา ต้านการติดเชื้อโรค

สำหรับวิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีมากในผลไม้เกือบทุกชนิด ถือเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ ช่วยในการรักษาเหงือก ฟัน กระดูก หน้าที่สำคัญคือ ช่วยร่างกายสร้างโคลเลเจน เป็นกาวที่จะยึดเซลล์ การกินวิตามินซีจะทำให้ผิวสวย เล็บสวย เหงือกและเลือดดี นอกจากนี้ยังเพิ่มความต้านทานต่อโรค ทำให้แผลหายเร็ว ไม่เกิดการแพ้ง่ายๆ นักโภชนาการว่า การกินวิตามินซีกับวิตามินเอ จะทำให้หวัดหายเร็วขึ้น (วิตามินซี 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน) มีรายงานวิจัยว่าอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้และนอกจากนี้แล้วในน้ำผลไม้ทุกชนิดยังอุดมไปด้วยธาตุโปแตสเซียม ธาตุอื่นๆที่มีในปริมาณเล็กน้อย คือ โซเดียม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และที่มีบ้างคือ ไอโอดีน ฟลูออรีน ทองแดง แมงกานีส เป็นต้น


คุณภาพของน้ำผลไม้ในท้องตลาด

ในการเลือกซื้อน้ำผลไม้ให้ได้คุณภาพ สะอาด และปลอดภัยต่อการบริโภคนั้น ก็ควรเลือกน้ำผลไม้ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสังเกตจากเครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงไว้ภาชนะที่บรรจุน้ำผลไม้ จะต้องมีฉลากปิดไว้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน โดยแจ้งชื่อผลิตภัณฑ์ รายชื่อของส่วนประกอบและวัตถุเจือปนในอาหาร ปริมาตรที่บรรจุ เลข อักษร หรือรหัสแสดงครั้งที่ทำ สถานที่ผลิตและตำบลที่ตั้ง เลขทะเบียนอาหารของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น หากไม่มีฉลากไม่ควรซื้อมาดื่ม

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีที่สุดคือการทำน้ำผลไม้เอาไว้ดื่มเอง (หรือทำบรรจุใส่ขวดไว้) สามารถทำได้ง่ายในบ้านของเราเป็นการประหยัดโดยไม่จำเป็นต้องไปซื้อหามาจากท้องตลาดด้วยราคาแพง และเรายังมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถใช้รับรองแขกและอาจทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว เพื่อช่วยผยุงเศรษฐกิจในครอบครัวได้อย่างดีทีเดียว
ถ้าคุณผู้อ่านสนใจ และอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ขอเชิญติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันและเวลาราชการ
อย่าลืมนะคะ...หมอชาวบ้านขออวยพรให้ท่านผู้อ่าน สุขภาพดีในปีใหม่ และหันมาดื่มน้ำผลไม้ไทยกัน ได้ทั้งวิตามินสูงค่า และยังช่วยพี่น้องชาวไร่ ชาวสวนของเรา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย

รักชาติต้องช่วยกันดื่มน้ำผลไม้ไทยนะคะ

 

ฤดูเก็บเกี่ยวของผลไม้ชนิดต่างๆในประเทศไทย 

ชนิดของผลไม้                                                                    ฤดูเก็บเกี่ยว
                                                      เริ่ม                                                                      สิ้นสุด
                                                                      

กระท้อน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กล้วย

                                   ตลอดปี

 

ขนุน

                                  ตลอดปี

 

เงาะ

 

 

จำปาดะ

กันยายน

ธันวาคม

จาก

                                    ตลอดปี

 

ชมพู่

มิถุนายน

กันยายน

ทุเรียน

 

พฤษภาคม

(ภาคเหนือและภาคกลาง)

สิงหาคม

(ภาคใต้)

มิถุนายน

 

ตุลาคม

 

ทุเรียนเทศ

มิถุนายน

กันยายน

ทับทิม

สิงหาคม

กุมภาพันธ์

น้อยหน่า

สิงหาคม

(รุ่นแรก)

ตุลาคม

(รุ่นที่สอง)

กันยายน

 

พฤศจิกายน

น้อยโหน่ง

                               ตลอดปี

 

ฝรั่ง

สิงหาคม

(ภาคกลาง)

มิถุนายน

(ภาคอีสาน)

กันยายน

 

สิงหาคม

พุทรา

กันยายน

เมษายน

มะกอกฝรั่ง

ธันวาคม

เมษายน

มะขาม

มกราคม

กุมภาพันธ์

มะนาว

กุมภาพันธ์

เมษายน

มะปราง

มีนาคม

เมษายน

มะพร้าว

                             ตลอดปี

 

มะเฟือง

                             ตลอดปี

 

มะม่วง

มกราคม

(ภาคเหนือ)

เมษายน

(ภาคกลาง)

มิถุนายน

 

พฤษภาคม

มะม่วงหิมพานต์

 

 

มะยม

มิถุนายน

 

มะละกอ

                               ตลอดปี

 

มังคุด

พฤษภาคม

(ภาคกลาง)

กรกฎาคม

(ภาคใต้)

มิถุนายน

 

สิงหาคม

ละมุด

                            ตลอดปี

 

ลางสาด

กันยายน

 

ลำไย

มิถุนายน

(ภาคเหนือและภาคอีสาน)

พฤษภาคม

(ภาคกลาง)

สิงหาคม

 

มิถุนายน

 

ลิ้นจี่

เมษายน

พฤษภาคม

ส้มเขียวหวาน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

 

ตุลาคม

มกราคม

ส้มโอ

กันยายน

(ภาคเหนือ)

สิงหาคม

(ภาคกลาง)

พฤษภาคม

(ภาคอีสาน)

ตุลาคม

 

ตุลาคม

 

มิถุนายน

 

ส้มแก้ว

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ส้มเกลี้ยง

สิงหาคม

กันยายน

ส้มซ่า

สิงหาคม

กันยายน

สาเก

เมษายน

พฤษภาคม

สับปะรด

                             ตลอดปี

 

องุ่น

กันยายน

มีนาคม

ท้อ

พฤษภาคม

(ภาคเหนือ)

มิถุนายน

พลับ

สิงหาคม

(ภาคเหนือ)

กันยายน

สาลี่

มิถุนายน

(ภาคเหนือ)

มีนาคม

แอปเปิ้ล

พฤษภาคม

(ภาคเหนือ)

มิถุนายน

ลูกเนย

พฤศจิกายน

(ภาคเหนือ)

 

โลควอท

สิงหาคม

(ภาคเหนือ)

 

มาคาเดเมียนัท

สิงหาคม

(ภาคเหนือ)

กันยายน

(ภาคเหนือ)

 

*หมายเหตุ ข้อมูลได้จากสาขาไม้ผล กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร


 

รู้จักกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“หมอชาวบ้าน” อยากแนะนำให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกับความเป็นมาของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพอเป็นสังเขป ซึ่งคุณสมชายอธิบายสรุปให้ฟังว่า สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เรียกย่อๆว่า สถาบันอาหาร เป็นหน่วยงานหนึ่งเทียบเท่าคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เดิมหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) สังกัดกระทรวงกลาโหม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 ภายหลังโอนมาสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี
พ.ศ.2511

วัตถุประสงค์ของสถาบันอาหารก็เพื่อทำการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ในการนี้จะนำผลิตผลทางเกษตรหรือผลพลอยได้จากการเกษตรมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ในแง่ของการปรับปรุงเศรษฐกิจ ยกระดับคุณค่าชีวิตในด้านโภชนาการ ปรับปรุงอาหารที่บริโภคกันแต่เดิมให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีราคาถูก ตลอดจนถ่ายทอดผลงานสู่ประชาชน ส่งเสริมให้การศึกษาและค้นคว้าหากรรมวิธีที่จะนำผลผลิตทางเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อให้เกิดผลดีในทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และมีพลานามัยสมบูรณ์

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของสถาบันอาหารที่นำออกมาสู่ตลาด ได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนราคาถูก เช่น นมถั่วเหลืองบรรจุกระป๋อง กรอบกรอบเกษตร (อาหารว่างโปรตีนสูง) คุกกี้เกษตร (ขนมผิงเกษตร) บะหมี่เกษตรอบแห้ง โปรตีนเกษตร นอกจากนี้ก็มีไวน์ผลไม้ต่างๆ น้ำส้มสายชู น้ำส้มเขียวหวานเข้มข้น น้ำพุทราเข้มข้น น้ำ

ข้อมูลสื่อ

92-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 92
ธันวาคม 2529
เรื่องน่ารู้